8 กระบวนการที่สำคัญในการ จัดการสินค้า EP.1

 

 

     การจัดการคลังสินค้าของโรงงานท่านตอนนี้เป็นอย่างไร มีกระบวนการหลักที่สำคัญต่อคลังสินค้า (Warehouse) ของโรงงานท่านหรือไม่ ซึ่งการจัดการคลังสินค้ามีกระบวนการหลักๆ ที่สำคัญอยู่ทั้งหมด 8 กระบวนการ วันนี้ทาง TTT Brothers จะมาบอกเล่าให้ฟัง 4 กระบวนการแรกของการจัดการคลังสินค้า

       

 

       1. รับสินค้าเข้าคลังสินค้า (Receiving)

          การรับสินค้าเข้าคลังสินค้าที่จะต้องดำเนินการในขณะที่สินค้าได้ส่งเข้ามาคลังสินค้าเพื่อการจัดเก็บรักษาสินค้า เข้าสู่คลังสินค้านั้น ถือว่าเป็นการดำเนินการแรกต่อสินค้าที่ถูกส่งเข้ามายังคลังสินค้าจะต้องนำเข้าสู่คลังสินค้าอย่างถูกต้องแน่นอน และย่อมมีความสำคัญต่อการดำเนินงานคลังสินค้าที่มีประสิทธิผล และการเก็บรักษาสินค้าเบื้องต้น

          รายละเอียดของการปฏิบัติงานรับสินค้าย่อมมีความแตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับแบบสินค้า และแบบของสิ่งอำนวยความสะดวกในการเก็บรักษา สินค้าอาจได้รับเข้ามาจาก แหล่ง หรือจาก Supplier ที่แตกต่างกัน การขนส่งสินค้ามายังสินค้าอาจเกิดขึ้นด้วยการขนส่งที่แตกต่างกันออกไป ด้วยความที่สินค้านั้นมีลักษณะแตกต่างกันออกไป สิ่งเหล่านี้ย่อมมีผลทำให้รายละเอียดในการปฏิบัติงานรับสินค้าแตกต่างกันด้วยเช่นกัน

         การจัดทำเอกสารในการรับสินค้านั้น จะต้องมีการคิด และวางแผนอย่างรอบคอบ เพราะถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพื่อลดความผิดพลาดของคลังสินค้าในกระบวนการถัดไป 

 

       2. ตรวจสอบสินค้าก่อนนำเข้าคลัง (Identify goods)

         เพื่อรับรองความถูกต้องในส่วนของสินค้านั้นๆ เช่น ชื่อของสินค้า, แบบของสินค้า, หมายเลขของสินค้า, วันหมดอายุของสินค้า และข้อมูลอื่นๆ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสินค้า รายการนั้น หรือของโรงงานนั้นๆ ความจำเป็นในเรื่องเหล่านี้อาจไม่เหมือนกันกับคลังสินค้าแต่ละประเภท ทั้งนี้ยังรวมถึงการตรวจสภาพเบื้องต้น ซึ่งหมายถึงการตรวจสภาพในส่วนของ จำนวน และคุณสมบัติของสินค้าที่จะได้รับเข้ามานั้นว่าถูกต้องตรงตามเอกสารการส่งหรือไม่

 

       3. ตรวจสอบคุณภาพสินค้า (Quality Control)

          การตรวจสอบ หรือควบคุมคุณภาพในสินค้า หรือวัสดุบางอย่างอาจมีความจำเป็นต้องแยกประเภทของสินค้า เพื่อความสะดวกในการเก็บรักษาเช่น เป็นสินค้าดี, สินค้าชำรุด, สินค้าของเก่า และสินค้าของใหม่ ซึ่งต้องแยกออกจากกันในการเก็บรักษาคลังสินค้า เพื่อง่ายต่อการจัดการในกระบวนการถัดไป

 

       4. การจัดเก็บสินค้า (Put-Away)

          การขนย้ายสินค้าจากพื้นที่รับสินค้าเข้าไปยังตำแหน่งที่เก็บสินค้า หรือคลังสินค้านั้นๆ ที่ทางผู้ดูแลคลังสินค้าได้กำหนดเอาไว้ล่วงหน้า และจัดวางสินค้านั้นไว้อย่างเป็นระเบียบ เพื่อที่จะนำสินค้าเพื่อออกจากคลังสินค้าได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งการบันทึกเอกสารเก็บสินค้าเข้าคลังที่เกี่ยวข้องกันเช่น บัตร หรือป้ายตำแหน่งเก็บสินค้า, บัตร หรือป้ายบอกตำแหน่งของคลังสินค้าที่จัดเก็บ และปัจจุบันมีการใช้ระบบเข้ามาประยุกต์ร่วมด้วย อย่างเช่น ระบบ RFID หรือระบบ PMRP ของบริษัท TTT Brothers ก็มี Module ในส่วนนี้เช่นกัน เพื่อให้การจัดการคลังสินค้าของคุณถูกต้อง และไม่มีความผิดพลาด เป็นต้น ก่อนที่จะจัดวางสินค้าลงไปในที่เก็บสินค้านั้น อาจจำเป็นต้องคัดแยกสินค้านั้นให้เหมาะสม เพื่อให้สามารถจัดเก็บให้อย่างเป็นระเบียบ และประหยัดเนื้อที่เวลาแรงงาน และง่ายแก่การดูแลรักษาและ การนำออกเพื่อการจัดส่งออกในโอกาสต่อไป เช่น การบรรจุหีบห่อใหม่ให้ได้มาตรฐาน เป็นต้น ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการพิจารณาตกลงใจซื้อเครื่องมือยกขนที่เหมาะสมกับลักษณะของ สินค้าและระยะที่ต้องเคลื่อนย้ายสินค้าเข้าสู่ตำแหน่งเก็บซึ่งมีหลักพิจารณาว่า รถยกขนสำหรับ การเคลื่อนย้ายสินค้าได้หรือไม่

 

         อย่างที่ทาง TTT Brothers ได้บอกเล่าไปข้างต้นนั้น ระบบ PMRP ของบริษัทฯ สามารถช่วยคุณดำเนินการในส่วนของการจัดการคลังสินค้าได้อย่างถูกต้อง ไร้ข้อผิดพลาด หรือ Human Error ได้อย่างแน่นอน ส่วนอีก 4 ข้อที่เหลือนั้น ทางเราจะมาบอกเล่าในครั้งถัดไปกัน

         และเพื่อให้โรงงานของคุณไปสู่โรงงาน 4.0 สามารถไว้วางใจระบบ “PMRP หรือ Production & Material Requirement Planning ระบบบริหารจัดการวางแผนการผลิต ที่ครอบคลุมทั้งโรงงาน ไปถึงระบบคลังสินค้าของคุณอีกด้วยค่ะ

07 กรกฎาคม 2565

ผู้ชม 480 ครั้ง

Engine by shopup.com