8 กระบวนการที่สำคัญในการ จัดการสินค้า EP.2

วันนี้ TTT Brothers จะมาบอกเล่าอีก 4 กระบวนสำคัญของการจัดการคลังสินค้ากันต่อ จากทั้งหมด 8 กระบวนการ และสามารถไปอ่านย่อนหลังในส่วนของ 4 กระบวนการแรกได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้เลย


Link >> คลิกเพื่ออ่าน EP.1

 

มาเริ่มอีก 4 กระบวนการสำคัญกันต่อเลยดีกว่า

 

 5.ดูแลรักษาสินค้า (Holding goods)

 การดูแลรักษาสินค้าในคลังนั้น หลังจากที่ได้จัดเก็บสินค้าในพื้นที่ ที่เก็บรักษาของคลังสินค้าแล้วนั้น จะต้องมีมาตรการต่างๆ ของการดูแลรักษามาใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าที่เก็บรักษาอยู่ในคลังสินค้าเกิดความเสียหายสูญหาย หรือเสื่อมคุณภาพ เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ ที่รับผิดชอบสำคัญของผู้เก็บรักษาสินค้าของคลังสินค้า สินค้านี้ต้องได้รับการป้องกันจากการถูกขโมย และป้องกันจากสภาพอากาศ งานดูแลรักษาสินค้าอาจประกอบด้วยงานย่อยต่างๆ
ดังนี้

          5.1 การตรวจสภาพสินค้า หมายถึงการตรวจสินค้าอย่างละเอียดตามระยะเวลา และตามลักษณะเฉพาะของ สินค้าแต่ละประเภท แต่ละชนิด ซึ่งมีการเสื่อมสภาพตามเวลาในการเก็บรักษาที่แตกต่างกัน เป็นสินค้าเสียง่ายต้องได้รับการตรวจบ่อยกว่าสินค้าที่เสียยาก

          5.2 การถนอมสินค้า หมายถึงสินค้าบางประเภทย่อมต้องการถนอมตามระยะเวลา

          5.3 การตรวจสอบสินค้า หมายถึงการตรวจตรานับสินค้าในที่เก็บรักษา เพื่อสอบยอดกับบัญชีคลุมในคลังสินค้าไม่น้อยกว่าปีละ 2 ครั้ง ซึ่งต้องแจ้งให้ผู้ฝาก และเจ้าหนี้ของผู้ฝาก คือผู้รับจำนำสินค้า ไม่ทราบด้วยเพื่อจะได้เข้ามา ร่วมในการตรวจสอบหากเขาต้องการ

 

  6.งานจัดส่งสินค้า (Dispatch goods)

  การจัดส่ง หรือการจ่ายสินค้าให้แก่ผู้รับ หรือการคืนสินค้าให้แก่ผู้ฝาก หรือผู้มีสิทธิในการรับสินค้าคืนสำหรับกรณีคลังสินค้าสาธารณะ ในระบบการบริหารพัสดุนั้นการเก็บรักษาในคลังวัสดุ มีจุดมุ่งหมายที่สุดคือการจ่ายพัสดุให้แก่ผู้รับในสภาพที่พร้อมสำหรับนำไปใช้ในการจัดส่งเป็นสิ่งสำคัญ เพราะขบวนการเก็บรักษาทั้งหมดที่ได้ดำเนินการมาก็เพื่อให้การจัดส่งสามารถให้กระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และความต้องการของผู้ใช้ ความล้มเหลวในการบริหารของพัสดุนั้นจะให้เกิดขึ้นไม่ได้ หรือแม้แต่การจัดส่งสินค้าให้แก่ผู้ใช้ไม่ทันเวลาตามความต้องการ

 7.การนำสินค้าออกจากที่เก็บคลังสินค้า (Picking) 


  การนำสินค้าออกจากที่เก็บเพื่อการจัดส่ง เป็นการเลือกเอาสินค้าจากพื้นที่ต่างๆ ในคลังเก็บสินค้ามารวมกันไว้ยังพื้นที่จัดส่ง เพื่อการตรวจสอบความถูกต้อง และพิสูจน์ให้แน่นอนว่าเป็น ไปตามหลักฐานการสั่งจ่าย หรือตามความต้องการของผู้รับ หรือตามละจุดหมายปลายทางที่จะส่งการเลือกหยิบสินค้า สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 4 กลุ่ม ดังนี้

            7.1  Discreet picking การเลือกหยิบสินค้าทีละรายการแล้วดำเนินการตั้งแต่ต้นจนจบ
            7.2  
Batch picking การเลือกหยิบสินค้าเป็นชุด หรือโหล
            7.3  
Zone picking การเลือกหยิบของตามโซนที่เลือกไว้ในคลังเก็บ
            7.4  
Wave picking การเลือกหยิบตามชนิดของการขนส่ง

 

 8.การจัดส่ง (Shipping)


 ประกอบด้วยการตรวจสอบคำสั่งซื้อที่จะส่งไปให้แก่ผู้รับสินค้า การปรับปรุงรายงานสินค้าคงคลัง, การแยกประเภทสินค้า และการจัดบรรจุภัณฑ์ตามคำสั่งซื้อ ซึ่งสินค้าจะถูกจัดเก็บในกล่อง, หีบห่อ พาเลท หรือตู้คอนเทนเนอร์ และมีการติดสลาก, ระบบบาร์โค้ด และการบันทึกข้อมูลเพื่อเตรียมส่งสินค้าออกจากคลัง เช่น ต้นทาง, ปลายทาง, ผู้ส่ง, ผู้รับ และรายละเอียดสินค้าที่ส่ง เป็นต้น ซึ่งมีกิจกรรมย่อยต่างๆ ดังนี้


          8.1การบรรจุหีบห่อหรือบรรจุภัณฑ์                                                                                                                                                                                           

          8.2 การทำเครื่องหมาย
          8.3 การบรรทุก และส่งมอบ

 

  ต้องบอกเลยว่าการจัดการคลังสินค้านั้น ไม่ง่ายเลยทีเดียว เพราะมีกระบวนการที่สำคัญถึง 8 กระบวนการนั้นเอง เพื่อให้คลังสินค้าของท่านนั้นไม่เกิดข้อผิดพลาด ที่อาจจะส่งผลกระทบไปถึงลูกค้า หรือผู้รับสินค้าได้นั้นเอง เพราะสมัยนี้ถือว่าความพึงพอใจของลูกค้านั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก และระบบ PMRP ของบริษัทฯ สามารถช่วยคุณดำเนินการในส่วนของการจัดการคลังสินค้าได้อย่างถูกต้อง ไร้ข้อผิดพลาด หรือ Human Error ได้อย่างแน่นอน หรือหากต้องการที่จะปรึกษากับทางบริษัทฯ เพื่อให้ทราบว่าตอนนี้โรงงานของท่านนั้นกำลังดำเนินการถูกวิธีหรือไม่ และเพื่อให้โรงงานของคุณไปสู่โรงงาน 4.0 สามารถไว้วางใจระบบ “PMRP หรือ Production & Material Requirement Planning ระบบบริหารจัดการวางแผนการผลิต ที่ครอบคลุมทั้งโรงงาน ไปถึงระบบคลังสินค้าของคุณอีกด้วย

 

07 กรกฎาคม 2565

ผู้ชม 381 ครั้ง

Engine by shopup.com